เมื่อ » 2017-07-13 10:49:19 (IP : , ,14.207.15.218 ,, Admin)
"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาน เป็นคนชอบกลนัก" บทประพันธ์นี้อยู่ในเรื่อง
"เวนิสวาณิช" พระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 จาก "The Merchant of Venice" ของ William Shakespeare
ดนตรีมิใช่มีเพื่อนำความสุข ความสุนทรีย์ในอารมณ์มาสู่ผู้เล่นและผู้ฟัง หรือ
ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ไพเราะเสนาะหูเท่านั้น ดนตรียังให้อะไรมากกว่า
ที่คิด หลายท่านคงได้ยินคำว่า “ดนตรีบำบัด” มาแล้ว
#ดนตรีบำบัด (music therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็น
การฟังหรือเล่นดนตรี การร้องเพลง แต่งเพลง เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟู
สภาพร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา ดนตรีบำบัดมักใช้ในโรงพยาบาล
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงเรียน สถานเลี้ยงดู หรือแม้กระทั่งในที่พักอาศัย
ผู้อ่านคงเคยไปโรงพยาบาลบางแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐซึ่งมีผู้ไป
รับการรักษาเป็นจำนวนมาก จะมีวงดนตรีของกลุ่มอาสาสมัครไปร้องเพลง
ขับกล่อมให้คนไข้และประชาชนได้รับฟังเพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บป่วย หรือ
ลดความเครียดจากการรอคอยเพื่อรับบริการต่าง ๆ ในโรงพยาบาล
มีคำกล่าวว่า ดนตรีเป็น "mind medicine" ดนตรีใช้เป็นเครื่องมือในการรักษามา
นานหลายศตวรรษ ธรรมชาติของดนตรีที่ไร้พรมแดน มีได้หลากหลายรูปแบบ
ทำให้เข้ากับคนได้อย่างไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติและศาสนา ดนตรีช่วยในการ
รักษาปัญหาทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าท่านจะฟังดนตรีประเภทใด ลูกทุ่ง
ลูกกรุง หรือดนตรีคลาสสิก (classical music) ดนตรีกระตุ้นสมองเกือบทุกส่วน
เช่น ส่วน auditory (การได้ยิน), motor cortex (เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ
แขน ขา ใบหน้า) limbic system (อารมณ์ จิตใจ การตระหนักรู้ ความเข้าใจ
และความจำ)
จากการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด #เมื่อได้ฟังดนตรีจะช่วยลดความ
เครียดและความวิตกกังวล ระดับของ cortisol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับ
ความเครียดลดลง มากกว่าการใช้ยา การเรียนเปียโนควบคู่ไปกับการทำกายภาพ
บำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพาตที่แขนซีกซ้ายหรือ
ซีกขวาเพียงซีกเดียว สามารถเคลื่อนไหวร่างกายชนิดที่ต้องอาศัยทักษะอย่าง
ละเอียด ได้ดีกว่าและมากกว่าผู้ที่ทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัย
สำคัญ ผลการวิจัยยังพบด้วยว่าการฟังดนตรี ช่วยลดอาการปวดแบบเรื้อรังได้ถึง
ร้อยละ 21 และลดภาวะซึมเศร้าได้ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้ยังช่วยให้อารมณ์สงบ
และช่วยบำบัดอาการนอนไม่หลับ
#ดนตรีบำบัดช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความมั่นใจ
และการกล้าแสดงออก เด็กที่มีปัญหาด้านการพูด อาจใช้ดนตรีกระตุ้นให้เด็ก
สามารถพูดและฟังได้ดีขึ้น ช่วยเด็กให้เรียนรู้ในการฝึกควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ช่วยให้เกิดจินตนาการ และการฝึกคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
การทำงานสอดประสานกันของอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ตาและมือ และยังช่วย
ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ การฝึกหัดเล่นดนตรีอย่าง
สม่ำเสมอ ช่วยให้เกิดระเบียบวินัย เกิดความความมานะพยายามและความอดทน
ซึ่งจะนำไปสู่ผลสำเร็จ คือสามารถเล่นดนตรีที่ต้องการได้
แม้ว่าการใช้ดนตรีบำบัด ส่วนใหญ่จะให้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่ควรใช้ดนตรีบำบัด
เพียงอย่างเดียวในการรักษาในรายที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง การรักษารูปแบบ
อื่น ๆ เช่นการใช้ยา การทำกายภาพบำบัดหรือจิตบำบัด ก็มีความสำคัญเช่น
เดียวกัน #การใช้ดนตรีบำบัดจะให้ผลดีมากน้อยเพียงใด #ขึ้นอยู่กับความชอบ
ดนตรี และ #สภาวะทางร่างกายและจิตใจของต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ทำให้การตอบสนองต่อการใช้ดนตรีบำบัดแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการใช้
นักดนตรีบำบัด (music therapist) ที่ผ่านการศึกษาด้านดนตรีบำบัด จึงมีความ
สำคัญ นักดนตรีบำบัดจะต้องพิจารณาถึงความชอบทางดนตรี ประสบการณ์
ทางดนตรี สภาวะแวดล้อม และสภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้รับการบำบัด
ประกอบการรักษา เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและยั่งยืน วิทยาลัย
ดุริยางคศิลป์ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีการเปิดสอนในสาขาดนตรีบำบัด
ซึ่งนอกจากการเรียนการสอนแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมดนตรีและดนตรีบำบัด
นอกสถานที่ เช่น ที่โรงพยาบาลศิริราชและสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟู
สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ มีการจัดอบรมระยะสั้นทางด้านดนตรีบำบัด
ให้แก่กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่สนใจ
ดนตรีมิได้มีประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาหรือมีโรคภัยทางร่างกายและจิตใจเท่านั้น
คนปกติอย่าง เรา ๆ ท่าน ๆ สามารถใช้ดนตรีเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ
#ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน
#เลือกดนตรีที่ต้องด้วยรสนิยมของท่าน ซึ่งปัจจุบันสามารถหาฟังได้ง่าย ๆ
ตามวิทยุหรือทีวี ใน website ของ You Tube ก็มีดนตรีที่ช่วยผ่อนคลาย
(relaxing music) #ดนตรีที่ช่วยในการทำสมาธิ (meditation music)
#หรือดนตรีที่ช่วยให้หลับ (sleeping music) ให้เลือกตามความชอบใจ
อยู่มากมาย เมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว “#ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ”
Cr.บทความสุขภาพ-ดนตรี บำบัดใจ www.thaihealth.or.th
|